สุดทนค่ารักษามหาโหด!ล่าชื่อทะลุ 3 หมื่น ลุยยื่นคุมราคา “รพ.เอกชน”

ASTVผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ได้มากว่า 32,000 รายชื่อแล้ว สำหรับแคมเปญรณรงค์ของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ในการล่ารายชื่อเพื่อเตรียมยื่นเรื่องผลักดัน ตั้งคณะกรรมการคุมราคาค่ารักษาพยาบาล และออกกฎหมายควบคุม หลังมีประชาชนร้องเรียนอื้อ เหตุ รพ.เอกชน เก็บค่ารักษาราคาแพง
เมื่อพูดถึงปัญหาการร้องเรียนกรณีโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลแพงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง บางเรื่องถูกแฉและแชร์ออกมาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ผู้ป่วยบางรายหายจากโรคแต่ต้องช็อกเพราะค่ารักษา ซ้ำร้ายบางรายต้องผ่อนจ่าย-แปลงโฉนดที่ดินไปเป็นค่ารักษา
จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เปิดเผยว่า ระหว่างปี 2556-2557 มีประชาชนที่ร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเข้ามา 10 ราย โดยพบว่าต้องเสียค่ารักษาพยาบาลถึงวันละ 400,000 บาท ขณะที่บางรายต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากที่สุดถึง 1,300,000 บาท
นี่คือกรณีตัวอย่างที่ทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เคยได้รับการร้องเรียนเข้ามา โดยทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live ขออนุญาตหยิบยกมานำเสนอต่อ
กรณีแรก ผู้ป่วยชายมีอาการเจ็บหน้าอก เข้ารพ.เอกชนที่โฆษณาว่ามีหมอโรคหัวใจ 24 ชั่วโมง แต่นอนรอตั้งแต่สองทุ่มถึง 8 โมงเช้า ก็ไม่มีหมอหัวใจมาตรวจจนผู้ป่วยเสียชีวิต ต่อมาญาติฟ้อง รพ.เอกชนแห่งนั้น จึงมีการตรวจสอบบิลค่ารักษา พบว่าทาง รพ.เก็บค่าอะดรีนาลินเพื่อกระตุ้นหัวใจ 148 หลอด ราคา 29,600 บาท
แต่ในเวชระเบียนระบุว่าใช้เพียง 30 หลอด ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจไปเบิกความว่า อะดรีนาลินนั้นใช้ได้ไม่เกิน 2 หลอด/ ชั่วโมง ถ้าใช้เกินคนไข้จะเสียชีวิต ความจริงคือช่วงที่แพทย์สั่งให้อะดรีนาลีนทางโทรศัพท์ใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง ดังนั้น การใช้อะดรีนาลีนไม่น่าจะเกิน 10 หลอด ซึ่งคิดเป็นเงินเพียง 2 พันบาทเท่านั้น
หรืออีกกรณี เป็นผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง โดยเธอเล่าว่า เธอและสามีต้องไปหาหมอรพ.เอกชนทุก 3 เดือน ค่ายาแต่ละครั้ง 5-6 หมื่นบาทต่อคน เธอและสามีก้มหน้าก้มตาจ่าย ครั้งล่าสุดหมอจ่ายยาให้สามีเธอสำหรับ 3 เดือน เป็นเงินถึง 9.8 หมื่นบาท เรียกว่าเกือบหนึ่งแสน เธอตกใจมาก จึงไปสอบถามร้านยาว่า ยาลดไขมัน Ezetrol เม็ดละเท่าไร ร้านยาบอกว่า 50 บาท
ขณะที่ รพ.เอกชนแห่งนั้นขายเม็ดละ 117 บาท และยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะ Nexium 40 mg ที่ร้านยาขายเม็ดละ 55.75 บาท แต่รพ.เอกชนขายเม็ดละ 156 บาท เมื่อเธอศึกษาพบว่าราคายาที่ต้องจ่าย 9.8 หมื่นบาท ราคากลางที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดเพียง 3 หมื่นกว่าบาท สรุปแล้วเธอต้องจ่ายแพงขึ้นถึง 6 หมื่นกว่าบาท
นอกจากนั้น ยังมีการร้องเรียนไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) รวมไปถึงสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อีกจำนวนไม่น้อย แต่สุดท้ายกลับไม่มีหน่วยงานไหนออกมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจังสักที
ทำให้ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เป็นตัวแทนออกมาเรียกร้องด้วยการสร้างแคมเปญรณรงค์ผ่าน http://www.change.org เพื่อล่ารายชื่อ “ตั้งคณะกรรมการควบคุมราคารพ.เอกชน” เนื่องจากที่ผ่านๆ มาได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ป่วย และญาติจำนวนมากเกี่ยวกับการคิดค่ารักษาพยาบาลที่สูงเกินจริงของโรงพยาบาลเอกชน แต่กลับไม่มีหน่วยงานใดที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านั้นโดยตรง แม้จะมี พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2545 แต่ก็ระบุเพียงแค่ให้สถานพยาบาลเปิดเผยค่ารักษาเท่านั้น
ทางฟากของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กตั้งคำถาม ทำไมไม่ออกมาพูดอะไรบ้างเลย
“เรื่องค่ารักษาแพงเกินจริงหรือไม่ ทำไมสมาคม รพ.เอกชนไม่ออกมาพูดอะไรบ้าง ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อเพื่อไม่ให้ดิฉันพูดข้างเดียว ก็บอกว่าอยากพูดอะไรก็พูดไป แพงก็ไม่ต้องเข้าไปรักษา นี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของดิฉันกับนายกสมาคม รพ.เอกชน แต่เป็นเรืองของความรับผิดชอบต่อสังคม ของการทำธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ เมื่อมีปัญหารพ.โกงค่ารักษาจริง ก็ควรช่วยกันกำจัดปลาเน่าไม่ให้เหม็นทั้งค้องไม่ใช่หรือ?”
ขณะนี้ทางเครือข่ายฯ สามารถล่ารายชื่อประชาชนมาได้กว่า 32,000 รายชื่อแล้ว และมีการนัดหมายเพื่อเข้ายื่นเรื่องต่อ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้ เวลา 12.30 น. จากนั้นจะไปยื่นต่อ น.ส.สารี อ๋องสมหวังประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สปช. เพื่อผลักดันให้ตั้งกรรมการคุมราคาค่ารักษาพยาบาลอย่างจริงจัง
ล่าสุด มีรายงานข่าวว่า นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ที่ต้องคิดค่ารักษาราคาแพงกว่าโรงพยาบาลรัฐ 2-3 เท่า เพราะต้องดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายของบุคลากรทั้งโรงพยาบาล ค่าบริหารจัดการภายในโรงพยาบาลเองทั้งหมด แค่ค่าแรงอย่างเดียวก็คิดเป็นร้อยละ 50 ของรายได้แล้ว ต่างจากโรงพยาบาลรัฐที่มีงบประมาณของประเทศดูแลอยู่
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เตรียมจะออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลในวันที่ 8 พ.ค.นี้
สุดท้ายแล้ว พลังประชาชนจะปฏิวัติค่ารักษาสร้างความเป็นธรรมเป็นธรรมได้หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป แต่อย่างน้อยๆ การเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ช่วยให้สังคมตระหนักถึงเรื่องนี้มากขึ้น แถมยังทำให้รู้ด้วยว่า ประชาชนที่มีความใส่ใจ และพยายามเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ยังคงมีอยู่

โพสท์ใน การเข้าถึงยา | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ประณามรพ.เอกชน รักษาแพงเกินจริง ชี้’ค่ายา’สูงมากไปบางแห่งถึง200%

เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ประณาม รพ.เอกชนโก่งค่ารักษาผู้ป่วยแพงเกินจริง “ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์” เผยสูงสุด 1.3 ล้านบาท ชี้ประชาชนกว่า 3 หมื่นคนเข้าชื่อขอกฎหมายคุมค่ารักษาให้ รมว.สธ.-สปช.รับไม้ต่อ ด้านแพทยสภาเผยค่าหมอเอกชนไม่มากแต่ค่ายาสูงลิ่ว บางแห่งเกินจริงถึง 200 เปอร์เซ็นต์
เมื่อวันที่ 6 พ.ค. นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ รพ.เอกชนเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลแพงว่า ระหว่างปี 2556-2557 มีประชาชนร้องเรียนเรื่องดังกล่าวเข้ามายังเครือข่ายฯ ประมาณ 10 รายโดยพบว่าต้องเสียค่ารักษาพยาบาลถึงวันละ 4 แสนบาท รายที่ต้องจ่ายมากที่สุดอยู่ที่ 1.3 ล้านบาท ขณะที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ก็มีประชาชนจำนวนมากเข้าไปร้องเรียนเช่นเดียวกัน ซึ่งทราบว่าสปสช.เองได้พยายามแก้ปัญหาอยู่แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่สามารถไปบังคับรพ.เอกชนได้ นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อีกจำนวนไม่น้อย สุดท้ายกลับไม่มีหน่วยงานไหนออกมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทางเครือข่ายฯ จึงได้ล่ารายชื่อประชาชนเพื่อนำไปยื่นต่อผู้มีหน้าที่ในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมเรื่องค่ารักษาพยาบาลและออกเป็นกฎหมายควบคุมอย่างจริงจัง เพราะ พ.ร.บ. สถานพยาบาล 2545 ระบุเพียงแค่ให้สถานพยาบาลเปิดเผยค่ารักษาเท่านั้น
“ตอนนี้เราสามารถล่ารายชื่อประชาชนมาได้กว่า 32,000 รายชื่อแล้ว นัดหมายกันว่าในวันที่ 12 พ.ค. นี้จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อนพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ที่ทำเนียบรัฐบาลเวลา 12.30 น. จากนั้นจะไปยื่นต่อ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุขสปช.เพื่อผลักดันให้ตั้งกรรมการคุมราคาค่ารักษาพยาบาลอย่างจริงจัง” นางปรียนันท์ระบุ
สำหรับกรณีตัวอย่างเมื่อปี 2557 นางปรียนันท์ กล่าวว่า มีคนไข้เป็นผู้ชายหมดสติระหว่างการเซาน่าและถูกนำส่งไปรพ.เอกชนแห่งหนึ่งปฐมพยาบาลก่อนจะส่งไปรักษาตัวต่อที่ รพ.เอกชนแห่งที่ 2 แพทย์เอกซเรย์ไม่ พบเลือดออกที่ก้านสมองแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยากระตุ้นหัวใจจึงวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ ฮีทสโตรก แต่ทางภรรยายังไม่หมดหวังได้ประสานไปยัง รพ.เอกชนแห่งที่ 3 ซึ่งรับปากว่าสามารถรักษาได้โดยฉีดยากระตุ้นหัวใจเข็มละ 7 หมื่นบาท จากนั้นแพทย์บอกว่าคนไข้มีภาวะเลือดข้นจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด แต่ระหว่างการฟอกเลือดคนไข้กลับมีเลือดไหลออกทางปาก, จมูกและทวารหนักเพราะร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่ให้ไปสุดท้ายก็ทำได้เพียงประคองลมหายใจและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งภรรยาของชายคนดังกล่าวเชื่อว่า รพ.เอกชนแห่งที่ 3 ยื้อชีวิตสามีไว้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น
นอกจากนี้เมื่อปีที่แล้วยังพบว่า รพ. เอกชนแห่งหนึ่งกักตัวคนไข้เอาไว้ไม่ยอมให้ออกจาก รพ.หากไม่มีเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลกว่า 8 แสนบาท โดยผู้ป่วยหญิงรายนี้บ้านอยู่ต่างจังหวัดอายุ 78 ปีเกิดล้มฟุบลิ้นจุกปากในงานแต่งงานใน กทม. ญาติ ๆ ได้นำตัวส่ง รพ.เอกชนที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งทาง รพ.แจ้งว่าผู้ป่วยไม่มีญาติใกล้ชิดหากจะรักษาต้องจ่ายคืนละ 3 หมื่นบาท ญาติที่พาไปเห็นว่าสามารถรวมเงินกันได้จึงยินยอม ต่อมา รพ.แจ้งอีกว่าผู้ป่วยต้องทำบอลลูนหัวใจและให้เซ็นยินยอมจ่ายค่ารักษาหลายแสนบาทโดยให้เหตุผลว่าเป็นเคสฉุกเฉินหากถึงแก่ชีวิตสามารถเรียกเก็บเงินจาก สปสช. ได้ แต่ไม่บอกกับญาติผู้ป่วยให้หมดว่า สปสช. ไม่สามารถจ่ายได้ตามจำนวนที่รพ.เรียกเก็บ จนเกิดความเข้าใจผิดและเซ็นรับเงื่อนไขดังกล่าว
ต่อมาลูกชายของคนไข้ต้องการจะย้ายผู้ป่วยไปรักษาตัวต่อที่ รพ.ของรัฐเนื่องจากเห็นว่าค่ารักษาพยาบาลแพงมาก แต่ รพ.บอกว่ายังไม่สามารถย้ายได้เพราะอันตราย กระทั่งพ้นขีดอันตรายแล้วก็ยังไม่ยอมให้ออกให้เหตุผลว่าต้องเอาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สุด ท้ายลูกชายคนไข้รายนี้ก็ต้องเซ็นรับสภาพหนี้เพื่อที่จะได้พามารดาไปรักษาตัวที่ รพ.อื่นต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นปัญหามากถ้าหากมีกรรมการมาวินิจฉัยก็จะทำให้ทราบได้ว่าหัตถการต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นเหมาะสมหรือไม่
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า รพ.เอกชนเป็นเสมือนกับการให้บริการทางเลือกโดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของ รพ.เองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ, ค่าไฟและค่าบุคลากรแตกต่างจากการทำงานของรพ.รัฐที่มีรัฐช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าค่ารักษาที่สูงนั้นส่วนใหญ่มาจากค่ายา, เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะค่ายานั้นพบว่าใน รพ.เอกชนบางแห่งสูงกว่าราคาท้องตลาด 100-200 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประเด็นนี้มีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล ในขณะที่อัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ยังค่อนข้างถูก ดังนั้นแพทยสภาโดยราชวิทยาลัยต่าง ๆ อยู่ระหว่างการร่างอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ใหม่ แต่ยังไม่ทราบว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมเท่าไหร่เพราะยังไม่แล้วเสร็จ.

โพสท์ใน การเข้าถึงยา | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

จ่ายชดเชยผู้เสียหายทุกสิทธิไม่ได้

ASTVผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ASTVผู้จัดการรายวัน – วอน “รัชตะ” ดันร่าง กม.คุ้มครองผู้เสียหายเข้าครม. หลัง คกก.ปฏิรูปดันมา 1 ปีแต่ไม่คืบ เปิดช่องคนค้านยิ่งแสดงออก ด้านกรมบัญชีกลางฟันธง ขยาย ม.41 จ่ายค่าชดเชยผู้เสียหายทุกสิทธิไม่ได้
นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า หลังจาก นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ลงนามสรุปความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ ก.พ. 2557 บัดนี้เป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าจากรัฐบาล จึงเป็นโอกาสให้ผู้ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แสดงความไม่เห็นด้วยยิ่งขึ้น อาจเพราะความเข้าใจผิดในหลายๆ ประเด็น ซึ่งล่าสุดมีความพยายามขอขยายความคุ้มครองตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จากคุ้มครองเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทอง เพิ่มไปยังผู้ที่ใช้สิทธิอื่นๆ ทั้งประกันสังคม และข้าราชการ
“ข้อเท็จจริงนั้น จากการประชุมหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กับอธิบดีกรมบัญชีกลาง ที่กรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2556 กรมบัญชีกลางได้ให้ความเห็นไว้ว่า เงินมาตรา 41 เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น โดยระบบของเงินงบประมาณแล้ว อาจไม่สามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้ตามร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายได้ เพราะเป็นคนละวัตถุประสงค์กัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของ สปสช.เพื่อจ่ายให้โรงพยาบาลเพื่อการรักษา แต่ตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อชดเชยกับผู้ได้รับความเสียหาย จึงสรุปว่าข้อเสนอในการขยายมาตรา 41 ไม่สามารถทำได้ทางกฎหมาย” นพ.สุธีร์ กล่าว
นพ.สุธีร์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นฉบับของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือกระทรวงสาธารณสุข ล้วนผ่านกระบวนการมาตรฐานเป็นขั้นเป็นตอน รวมถึงการเปิดรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อย และยังได้มีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาใหม่แล้ว ความเห็นแย้งที่ถูกหยิบยกขึ้นมากว่า 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าหลายประเด็นได้ถูกอธิบายไว้แล้ว หรือแก้ไขในร่าง พ.ร.บ.ไปแล้ว แต่ผู้คัดค้านอาจยังไม่ได้ศึกษาให้ครอบคลุม จึงขอให้ รมว.สาธารณสุข เร่งผลักดันและนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เสนอต่อ ครม.เพื่อรับหลักการ และส่งเข้า สนช.เพื่อให้ทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ได้ใช้เวทีของคณะกรรมาธิการในการถกแถลงร่วมกันอย่างอิสระเปิดเผย เพื่อกฎหมายจะได้เดินหน้าต่อไป

โพสท์ใน พรบ.คุ้มครองฯ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คอลัมน์ เพื่อนผู้บริโภค: แร่ใยหินกระเบื้องลอนคู่

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การรณรงค์เรื่องการยกเลิกการใช้กระเบื้องที่มี “แร่ใยหิน” หรือ “แอสเบสตอส” ในประเทศไทยเรายังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แร่ใยหินก่อให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด หากผู้ผลิตหรือแม้แต่ผู้ใช้หายใจเอาแร่ใยหินเข้าสู่ร่างกาย ความน่ากลัวของแร่ใยหินทำให้หลายประเทศมีการสั่งห้ามผลิตและใช้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตั้งแต่เมื่อปี 2554 เรื่องแนวทางการบริหารจัดการอันตรายของแร่ใยหิน ตามยุทธศาสตร์ “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ที่เสนอโดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ แต่ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะผู้ประกอบการใช้เหตุผลเรื่องของราคาสินค้าที่อาจต้องปรับสูงขึ้นกลายเป็นภาระของผู้บริโภค
สินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหลักมากกว่า 90% คือ กระเบื้องซีเมนต์ กระเบื้องทนไฟ กระเบื้องมุงหลังคา เพราะเหตุผลเรื่องความแข็งแรงทนทาน และมีราคาถูกกว่ากระเบื้องแบบไร้แร่ใยหิน แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ สำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคาที่มีและไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน พบว่า กระเบื้องที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปจำนวน 7 ยี่ห้อ พบว่ามี 3 ยี่ห้อที่ยังมีการใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ 1.ตราลูกโลก 2.ตราเพชร และ 3.ตราจิงโจ้
ส่วนกระเบื้องที่ไม่มีการใช้แร่ใยหิน ได้แก่ 1.ตราขวาน 2.ตราห้าห่วง 3.ตราช้าง และ 4.ตรา TPI พบว่ากระเบื้องแบบไร้แร่ใยหินหลายยี่ห้อ ที่ราคาถูกกว่ากระเบื้องที่มีแร่ใยหิน ราคาของกระเบื้องลอนคู่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด การสำรวจได้มีการสอบถามกับผู้รับเหมา พบว่าครึ่งของผู้รับเหมารู้จักแร่ใยหินและส่วนใหญ่เชื่อว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

โพสท์ใน แร่ใยหิน | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

คณะอนุกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ ขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนของจังหวัด

วันอังคาร ที่ 5 พฤษภาคม 2558

วันนี้ นพ.โกมินทร์ ทิวทอง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเป็นไปตาม พ.ศ.2550 ที่มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ซึ่งบัดนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติชุดปัจจุบัน มีกำหนดครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 6 ธันวาคม 2558 และคณะกรรมการสรรหาจะต้องดำเนินการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชุดที่3 พ.ศ.2558 ตามหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2558 ซึ่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการสรรหา เป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ประธานคณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชิตได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาการการสุขภพแห่งชาติในระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานอนุกรรมการ มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

***** นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกระบวนการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 20(2) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และคำสั่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 6/2555 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติตระดับจังหวัด โดยมีอำนาจหน้าที่อำนวยกรและบริการจัดการให้การสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติจากผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ตามมาตรา 13(10) ให้เป็นไปตามประกาศ วิธีการหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่คณะกรรมการสรรหากรรมสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติกำหนด และเมื่อดำเนินการแล้ว ให้จัดส่งรายชื่อผู้แทนองค์กรภาคเอกชนของจังหวัด พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานของอนุกรรมการสรรหาระดับจังหวัดเสนอต่อคณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติมอบหมายให้แต่ละจังหวัดเป็นผู้พิจารณาสรรหาฯผู้แทนองค์ภาคเอกชนระดับจังหวัด จำนวน 1 คน เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดเข้าร่วมคัดเลือกในระดับเขต ภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2558 เพื่อดำเนินการต่อไป

ที่มา : http://www.oknation.net

โพสท์ใน คสช. | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

แฉ!บ.บุหรี่ข้ามชาติค้าน กม.บุหรี่ฉบับใหม่

บ้านเมือง ฉบับวันที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกัน 1,000 คน ผ่านเมลกรุ๊ป ระหว่างวันที่ 2-5 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า เกือบทั้งหมดต้องการให้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาควบคุมบริษัทบุหรี่อย่างเข้มงวด ภายใต้กฎหมายควบคุมยาสูบ Family Smoking Prevention and Tobacco Control Act. ค.ศ.2009 โดยร้อยละ 96 เห็นควรให้มีการตรวจอายุ ผู้ซื้อบุหรี่ที่เป็นเยาวชน ร้อยละ 92 ให้มีการทำโทษร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ให้แก่เด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ ร้อยละ 91 ให้มีการควบคุมการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็ก ร้อยละ 86 เห็นควรให้องค์การอาหารและยาเห็นชอบก่อนที่ยาสูบประเภทใหม่ๆ จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ ร้อยละ 81 เสนอให้ห้ามใช้สารปรุงแต่งที่เพิ่มความเย้ายวนต่อเด็ก และร้อยละ 81 เห็นควรให้พิมพ์คำเตือนขนาดใหญ่บนซองบุหรี่
รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าวว่า ทั้งนี้ แม้จะมีการควบคุมยาสูบมา 50 ปี แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่ในสหรัฐฯ ยังอยู่ที่ 42.1 ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่ล่าสุดของชายอเมริกัน เท่ากับ ร้อยละ 20.5 และหญิงร้อยละ 15.3 มีชาวอเมริกัน 16 ล้านคนที่กำลังป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และเสียชีวิตปีละ 480,000 คน ทั้งนี้องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมยาสูบ แต่ได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากบริษัทบุหรี่ โดยเฉพาะบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ที่ครองตลาดส่วนใหญ่ในอเมริกา
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ได้ทำหนังสือถึง เลขานุการคณะรัฐมนตรี คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ โดยระบุว่าประเทศไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายควบคุมยาสูบฉบับใหม่ ควรเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชน และบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ ในขณะที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริส มีกำไรจากการขายบุหรี่ในประเทศไทยปีละ 3,000 ล้านบาท และคนไทยตายจากการสูบบุหรี่ปีละห้าหมื่นคน

โพสท์ใน บุหรี่/ยาสูบ/เหล้า | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

หมอจุฬาฯชี้ไม่ผิด’บิ๊กตู่’ให้คนรวยสละบัตรทองเสนอจำกัดครั้งการรักษา

พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 01 – 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูรคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอแนวคิดให้คนรวยสละสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เพื่อช่วยเหลือคนจน ซึ่งภายหลังกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพออกมาปรับทัศนคติโดยให้เหตุผลว่าระบบบัตรทองไม่ใช่ระบบอนาถา แต่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทย ว่า จริงๆ แนวคิดของนายกฯ ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่สะท้อนถึงนายกฯ เข้าใจว่าระบบบัตรทองยังเป็นปัญหาและมีความพยายามที่จะแก้ไข
ทั้งนี้ตั้งข้อสงสัยคือ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ(บอร์ด สปสช.) ด้วยนั้น เข้าใจถึงปัญหาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นถึงแรงจูงใจในการแก้ปัญหางบประมาณรัฐสูงเกินไป รวมไปถึงกรณีโรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง โดยพบว่าจะแก้ปัญหาโดยของบเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นตลอด ซึ่งสุดท้ายก็จะเป็นภาระต่องบประมาณประเทศ นั่นเป็นเพราะงบประมาณที่ได้มา สปสช.ไม่ได้เป็นผู้จัดหา แต่เป็นรัฐบาลและกระทรวงการคลัง
ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าวว่า ข้อชี้แจงของ สปสช.ที่ไม่เห็นด้วยกับนายกฯคือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีของมนุษย์ และติดขัดกับกฎหมายที่ว่าสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ส่วนตัวมองว่าหากแนวคิดใดก็ตามที่เป็นทางแก้ปัญหาได้จริง และไม่ส่งผลกระทบ หากขัดกับกฎหมายก็สามารถแก้กฎหมายได้ สำหรับกรณีดังกล่าวมองว่าเบื้องต้นอาจใช้แนวทางการชี้แจงต่อประชาชนให้เข้าใจ เพราะการแก้ปัญหาระบบบัตรทองด้านหนึ่งที่ได้ผลดีคือการทำให้ประชาชนเข้าใจปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยบุคลากรทางการแพทย์ต้องชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบว่าโรงพยาบาลมีปัญหาอะไร ขาดทุนเพราะอะไร การเงินขาดสภาพคล่องอย่างไร เชื่อว่าประชาชนที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษา ซึ่งไม่ใช่โรคซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายแพงๆ ก็ยินดีที่จะจ่ายเองมากกว่าใช้สิทธิประเด็นสำคัญคืออย่ากลัวว่าเป็นเรื่องเสียหน้า ที่ต้องยอมรับคือโรงพยาบาลหลายแห่งที่ไม่ขาดทุนก็เพราะมีเงินบริจาคจากประชาชน
“การแก้ปัญหาที่ยากที่สุดคือทำให้ประชาชนตื่นรู้ในเรื่องของระบบบัตรทองผมยืนยันว่าไม่ใช่ระบบบัตรทองไม่ดี เพราะเป็นโครงการที่มุ่งหวังให้คนไทยทั้งประเทศได้รับบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึง แต่หากไม่มีการปรับแนวทางการบริหาร สุดท้ายจะสร้างปัญหา จนเกิดความล่มสลายของสาธารณสุขของประเทศ เพราะที่ผ่านมาระบบนี้ให้สิทธิที่สุดโต่งเกินไป
โดยเฉพาะการรักษาพยาบาลจนทำให้ประชาชนเพิกเฉยต่อการดูแลสุขภาพตนเอง โรงพยาบาลเกิดภาวะขาดทุน ซึ่งประชานิยมลักษณะนี้มองว่าต้องเร่งแก้ไขให้ได้ในรัฐบาลนี้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะหากแก้ปัญหาไม่ได้ ต่อให้เป็นรัฐบาลที่เป็นผู้เริ่มโครงการก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาได้” ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าวและว่านอกจากนี้ ต้องสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนรู้จักดูแลสุขภาพตัวเอง เช่น จำกัดจำนวนครั้งในการพบแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือปรับเพิ่มค่ารักษาในส่วนของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่นเพิ่มจาก 30 บาท เป็น 300 บาท หรือ 3,000 บาท สำหรับผู้ป่วยรายใหม่จากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ติดยาเสพติด มีไข่พยาธิไม้ใบในตับซ้ำซาก โดยประชาสัมพันธ์ เพื่อให้คนมีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น

โพสท์ใน ระบบประกันสุขภาพ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ปฏิรูปคุ้มครองผู้บริโภคชี้ต้องอยู่ในรธน.-คุมสินค้าปลอดภัย

ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ รองประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภค และรองประธานกรรมการ ด้านสาธารณสุข สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เปิดเผยว่า การปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภค ถือเป็นหนึ่งในการปฏิรูป 50 ด้าน โดยให้บรรจุมาตราที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ในภาคที่ 4 การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 การปฏิรูปด้านต่างๆ ดังนี้ คือการขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นอิสระตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้มีกฎหมายให้ ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิที่ชัดเจน การ บูรณาการการปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภค
ภก.วิทยากล่าวต่อว่า โดยให้มีกลไกหลักประกันด้านความปลอดภัยของสินค้าและบริการ โดยเฉพาะความปลอดภัยของอาหาร และจัดให้มีระบบหรือกลไกคุ้มครองผู้บริโภค ตามหลักการป้องกันล่วงหน้า หรือลดผล กระทบจากกรณีที่คาดหมายได้ล่วงหน้า และจัดให้มีกองทุนเพื่อชดเชยหรือเยียวยาความเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้บริโภคจากสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ในการปฏิรูปด้านสาธารณสุข มาตรา 294 เสนอให้เพิ่ม (6) ผลักดันกฎหมายและนโยบายสาธารณะเพื่อคุ้มครองปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ร่างพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น และประกาศควบคุมสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เช่น อันตรายจากโฟมหรือมีน้ำมัน แร่ใยหิน และอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนเรื่องปฏิรูปในภาค 4 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของพลเมือง

โพสท์ใน อาหารปลอดภัย | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

สธ.เร่งวางระบบคุ้มครองสุขภาพปชช.ในพื้นที่ฮอตโซน30จังหวัด

แนวหน้า ฉบับวันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ติดตามสภาพปัญหาสุขภาพประชาชนที่ อ.เมือง และอ.วังสะพุง ที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมชุมชนรอบเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ 6 หมู่บ้าน 780 หลังคาเรือน ประชาชน 3,315 คน กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมเหมืองแร่ทองคำที่จ.เลยในวันนี้ เพื่อวางระบบการป้องกันผลกระทบสุขภาพประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนที่จะมีการทำเหมืองแร่ ที่ผ่านมา อาจจะยังไม่มีการดูแลอย่างเป็นระบบ ขาดข้อมูลสุขภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจังหวัดเลย ในปี 2552 ตรวจพบแคดเมียมเกินค่ามาตรฐาน ในน้ำบาดาลที่ใช้ผลิตน้ำประปา จำนวน 3 บ่อ ขณะนี้ได้ปิดบ่อไปแล้ว ในน้ำผิวดิน ในหอยขม และปู ในลำน้ำห้วยเหล็กพบสารหนูเกินค่ามาตรฐาน ส่วนในลำน้ำห้วยผุกพบแมงกานีสเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยได้ประกาศให้ประชาชนงดบริโภค หอยขมและปูจากแหล่งน้ำดังกล่าว พร้อมติดตามสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยและผู้ที่มีโลหะหนักในเลือด ในปัสสาวะอย่างต่อเนื่องทุกคน
สำหรับมาตรการระยะยาว ได้ให้กรมอนามัยและกรมควบคุมโรค จัดทำแผนยุทธศาสตร์ออกแบบระบบเฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่จะได้รับมลพิษจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และปิโตรเคมี รวมทั้งจากมลพิษทางอากาศ และเขตพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ หรือเรียกว่า ฮอตโซน (HOT ZONE) ซึ่งมีประมาณ 30 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจะมีระบบการเฝ้าระวังความ ผิดปกติใน คน สิ่งแวดล้อม น้ำ อากาศ ดิน อาหาร อย่างชัดเจน และให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน รู้ทันปัญหา เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ และนำมากำหนดเป็นแนวทาง ปฏิบัติในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม มีระบบป้องกันที่รอบคอบและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหา โดยสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นแกน หลักสำคัญเชื่อมโยงกลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในพื้นที่ในรูปของสมัชชาแห่งชาติ เป็นมติและเป็นธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งทุกฝ่าย จะต้องยึดเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งเรื่องนี้ ยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขทำงานดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเต็มกลไก มิได้เป็น การก้าวก่ายหน่วยงานอื่นแต่อย่างใด เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

โพสท์ใน เขตสุขภาพ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ALL THAT GLITTERS…

Bangkok Post ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558
STORY: KARNJANA KARNJANATAWE
PHOTOS: ARTHUR JONES DIONIO
Continuing our series on female conservationists, Life speaks wtih Suekanya Theerachatdamrong, who for over a decade has led the fight against Akara’s gold mine
A community meeting room in Ban Khao Mo village in Phichit, about 300km north of Bangkok, has been locked up. Plastic chairs are stacked up in rows. Dry leaves are scattered on the concrete floor. Across the street are three huge concrete water tanks, empty. Not far from them stand four houses, a temple with only one monk and an unfinished construction site. The scene is desolate, the village nearly abandoned.
Suekanya Theerachatdamrong, a tiny 39-yearold woman, lives in one of those houses. She is preparing blood test results to present to the governor of Phichit. The results show high levels of manganese, mercury and arsenic. Suekanya is not alone – her family, including her only daughter, a primary school student, and other people in 12 villages in Phichit, Phetchabun and Phitsanulok provinces, have suffered and fallen ill because of the heavy metals in their blood.
Suekanya’s house is located near the edge of Akara Resources’ Chatree Mining Complex, the country’s largest gold mine.
“We have been sick and suffered a great deal for many years. We can’t drink our own water and eat home-grown fruits and vegetables, as water and soil are contaminated with the heavy metals,” said Suekanya, a farmer-turned-activist.
The Ministry of Industry granted concessions to Akara Resources to operate the gold mine on a 78,257 rai plot of land on the border adjoining Phichit, Phetchabun and Phitsanulok provinces. The company is also exploring the nearby 9,629 rai for more gold ore. About 6,000 people live in the 12 villages nearby.
“If we did not speak out, no one would ever know that the gold mine has impacted our lives,” she said.
Born and raised in Moo 9 of Ban Khao Mo village, tambon Khao Chet Luk in Phichit, Suekanya was a vocational school student when Akara Mining, the former name of Akara Resources, explored the land and found gold ore in 1995.
“We did not know much about mining operations. We were glad that our hometown has gold ore. The company told us that mining would bring jobs. We did not have to live far away from home, as we could work for the mine,” she said.
The majority of the villagers initially supported the mining operation. Suekanya, who had been working in Bangkok, was recruited to work in the purchasing department of the mining company.
During the first year of the mine’s operation, people raised concerns over noise and dust from the mine, which operated 24 hours, she recalled. Ban Khao Mo village was located only about 2km away. During the second year of operation, tap water, which originated from groundwater resources, began to have an unpleasant smell. When the water was kept in a container for seven days, purple and black sediment was clearly visible.
“When we bathed with the tap water, we felt itchy. Parts of our skin was covered with rashes and blisters. The more we scratched, the more we felt itchy. The size of blisters also became larger. Some toddlers also got boils on their buttocks,” she recalled.
The villagers informed related authorities and a mobile testing unit of the Groundwater Resources Department in Phitsanulok found high levels of arsenic.
“The officers told us that our lives would be shortened if we kept using the contaminated tap water. But they refused to give us the official results. We didn’t know what to do, so we had to live with it,” she said.
When the villagers learned that the mine would expand to its second phase in 2003, they began to protest, a campaign that lasted well into 2008. First, they submitted petitions to the Tambon Administrative Organisation (TAO) of Khao Chet Luk. Later, about 300 villagers protested in front of the TAO, demanding the chief to stop the mine’s expansion. They also sent petitions to the Phichit governor, the Natural Resources and Environmental Policy and Planning Office, the Primary Industries and Mines Department, the Natural Resources and Environmental Ministry and the Ministry of Industry. They even protested in front of the mining office.
Suekanya drafted and submitted those petitions. During her campaigns, she received many threats, as the villagers were divided. She recalled that the first threat was when someone left a dog’s head in front of her house. One night two men drove a motorcycle past her home, cursed her loudly and fired a gun to intimidate her. Sometimes, her neighbours found strangers hiding behind bamboo bushes not far from her house. Once, her neighbour fired a shotgun to scare away two strangers as they were patrolling on a motorcycle at night behind her house. They exchanged fire, but no one was hurt. She was forced to sell her land or lose her job. She refused to sell and was fired in 2007.
“The company offered to buy my house with this 1.3 rai plot of land for 7 million baht. It’s a large sum for this small piece of land, but I didn’t accept their offer. If I’m not here, no one will fight for us,” she said.
In 2008, Suekanya submitted a petition to then industrial minister Suwit Khunkitti, urging him to reject the new concessions as the mine attempted to expand to the second development phase.
“Sadly, the minister gave the green light to the mine’s expansion within three days of receiving our petition,” she said.
These experiences reinforced her perception that Akara Resources was too strong for her and the villagers to fight. But she has not given up.
The villagers joined the Community Networks on Social and Political Reform, a block of 480 communities and 18 groups of people nationwide who have suffered from the problems of land usage. She also led representatives of the 12 villages to mining operations in other provinces such as a potash mine in Udon Thani, a basalt mine in Ubon Ratchathani and an iron ore and gold mine in Loei.
“When we joined the network, we gained more knowledge of mining operations, laws related to mining, danger of mineral compounds generated by the process of mining and the impact of the heavy metals to our health,” she said.
In November 2010, Suekanya led 44 villagers of Ban Khao Mo to the Phitsanulok Administrative Court. She filed a lawsuit against five state authorities – the industrial minister, the director-general of Primary Industries and Mines Department, the Mining Committee, the director-general of the Forest Department and the mayor of Khao Chet Luk Municipality – for allegedly issuing illegal mining concessions and land-use permits to the company. The plaintiff asked the court to revoke the five mining concessions granted to the company for its second phase expansion and to withdraw permission to use forest land and public areas.
Two years later, in 2012, the court issued a verdict – the company must carry out an environmental and health impact assessment (EHIA). If the EHIA was not approved by the agencies concerned within a year, the concessions would be revoked. However, the mining is still in operation today. Suekanya appealed the verdict to the Supreme Administrative Court. The case has not yet reached to its final stage.
“We want to close the mine,” she said, adding that the more the mine is operated, the more lasting and powerful the toxic impact will be. Like the Mae Moh coal mine in Lampang, the mine continues to expand while people living near the mine suffer.
“If the company is done with the gold mine, only toxic compounds will be left in Phichit, and it will take decades for cleaning. Like the Karen people in Klity village in Kanchanaburi, they still suffer from toxic lead for decades after the lead-processing factory was ordered to close,” she said.
Last year, a team from Rangsit University collected samples of water, sediment and plants to analyse. It found high contamination levels of mercury and lead in water, and arsenic and manganese in sediment. Rice and home-grown vegetables were found to contain manganese and cyanide. Plants growing in streams contained high levels of cadmium and manganese.
The university also worked with the Central Institute of Forensic Science (CIFS) to collect blood from 731 villagers living near the gold mine. They found excessive levels of arsenic and manganese in blood samples of 483 people, micronucleus irregularities in 209 people and damaged DNA, which can lead to cancer, in 91 people.
CIFS chief Porntip Rojanasunan gave an interview in which she stated the villagers were at risk, and that it is important for authorities to create a proper plan to ensure they receive immediate treatment, as manganese can cause neurological problems and, with extended exposure, symptoms resembling Parkinson’s disease. Arsenic poisoning causes ailments ranging from headaches to convulsions to night blindness and strokes.
After the news was reported, Akara Resources CEO Pakorn Sukhum argued that the findings may not necessarily be related to mining, and that the claims were yet to be verified by the Pollution Control Department.
The results, however, prompted the Department of Primary Industries and Mines to suspend its gold extraction operations for 45 days in January. The mine has since resumed operations.
Suekanya, meanwhile, urged the company to clear out all the people living close to the mine.
“The findings clearly show that our blood have heavy metals that exceed safe levels. We tried eating organic food, bought drinking water from another district and applied detoxification, but the level of heavy metals are still high. We have been sick for many years. We have asked for help for many years. We have complained, petitioned and protested – the authorities and the government don’t help us,” she said.
“We are a small group of people. But those investors are also a small group of people. I wonder why they have more power than us, while we are sick and dying?”
Sometimes she feels weak and scared, as she does not only have heavy metal, but damaged DNA. Her father died from cancer at the beginning of this year, but she has no plans to wave the white flag.
“Whenever I think about the injustice we have received, it rouses my fighting spirit,” she said. “I must carry on this fight until the end.”
CHRONOLOGICAL EVENTS
1993 Akara Mining, later known as Akara Resources Pcl, is established as a subsidiary of Kingsgate Consolidated, a gold mining and exploration company in Australia.
1995 Akara Mining explores Khao Pong Mountain, located between tambon Khao Chet Luk in Phichit and tambon Hua Dong in Phetchabun, and finds gold ore.
2001 The company receives a concession to operate the gold mine from the Department of Primary Industries and Mines of the Ministry of Industry.
2003 The company makes plans to expand the mine. Villagers protest against the expansion, as their tap water is contaminated and some people fall ill.
Jul 19, 2008 Suekanya submits a petition to the Ministry of Industry to reject the mine expansion.
Jul 21, 2008 The minister approves the mine’s second development phase, with five concessions as requested.
2010 The Pollution Control Department sur-veys water wells around the mining site and finds high levels of heavy metals such as lead and manganese.
Nov 11, 2010 Suekanya files a lawsuit to Phichit Administrative Court against five state authorities for allegedly issuing illegal mining concessions and land use permits to the company.
2011 The villagers submit a letter to Abhisit Vejjajiva’s government. The Minister of the Prime Minister’s Office, Sathit Wongnongtoey, orders the TAO of Khao Chet Luk to supply clean water for villagers. However, only people living in Moo 3 and Moo 9 have so far received water.
2012 The Phitsanulok Administrative Court gives its verdict, stating that the company must carry out an environmental and health impact assessment and be approved by the agencies concerned within a year or the concessions will be revoked.
May 25, 2012 Suekanya appeals the verdict to the Supreme Administrative Court.
Nov 2012 Akara Resources doubles its total processing capacity from 2.3 million tonnes to 5 million tonnes per year. This amount later increases to 6.2 million tonnes per year.
2013 A group of 30 villagers in Ban Khao Mo has their blood tested and cyanide is found. Suekanya leads 300 villagers to the Australian embassy in Bangkok to submit a petition to ask the Australian government for help. Akara Resources sues her for defamation.
Jul 2014 Villagers from Phichit, Phitsanulok and Phetchabun, led by Suekanya and Wanphen Promrangsan, submit a petition to the National Council for Peace and Order (NCPO) and the Central Institute of Forensic Science’s chief, Dr Porntip Rojanasunan.
Nov 2014 Porntip and her team join Rangsit University, which is sent by the NCPO, to collect samples of blood and urine from 731 villagers in Phichit and Phitsanulok. Over half of the samples contain unsafe levels of manganese and arsenic.
Jan 13, 2015 The Department of Primary Industries and Mines (DPIM) suspend gold mine operations for 30 days.
Jan 16 Thirty villagers led by Suekanya submit a letter to the DPIM director-general Surapong Chiangthong, asking him to find solutions for the 6,000 villagers living in the three provinces.
Jan 22 Representatives of the three provinces join 20 NGOs and other communities impacted by nationwide mining to issue a statement. They ask the Council of State to revise a new Minerals Act and urge the government not to submit the new act to the National Legislative Assembly, as this will make it easier for companies to search for minerals in protected areas such as national parks.
Feb 12 The Ministry of Industry adds 45 days to a 30-day suspension on operations imposed against Akara Resources after the company fails to prove its gold mines do not pose a health threat.
Feb 19 Forty villagers from five provinces – Phichit, Phitsanulok, Phetchabun, Saraburi and Lop Buri, led by Suekanya and Wanphen, submit a petition at a complaint centre at Government House, asking Prime Minister Prayut Chan-o-cha to order CIFS and Rangsit University to conduct health checks on 6,000 villagers and test the ground and water near the gold mine for toxic substances. Representatives from Saraburi and Lop Buri join villagers after hearing their provinces are likely to be the next locations for new gold mines.
Feb 26 The gold mine resumes its operation after the ban is lifted. The company is required to hold public hearings in the affected provinces, allowing village representatives to join authorities in inspecting the mining operations, creating a better understanding with local villagers, and to treat any villager whose illness is a result of its work.
Mar 30 Representatives of the three provinces meet with Phichit governor to ask him to help the sick people living near the mine. No government action has so far been taken.
“If the company is done with the gold mine, only toxic compounds will be left in Phichit, and it will take decades to clean it all up

โพสท์ใน HIA | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น